Home
| about us | เวชสำอางค์ | บทความ-สาระน่ารู้ |ติดต่อสอบถาม | แผนที่


 

คุณติด Social Media มากไปหรือไม่

พญ.ธรรมิกา  เทพพาที 

เครดิต ภาพจากในเว็บ


          ยุคนี้เชื่อว่าเกือบจะทุกคนต้องมี Social Media อย่างน้อย 1 ช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Facebook,  Instagram , Twitter, Line เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือคนสูงอายุ เพราะอินเตอร์เน็ตเข้าถึงชีวิตเราได้ง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก
การเจริญของเทคโนโลยีทั้งระบบอินเตอร์เน็ตที่รวดเร็ว ระบบมือถือที่ทันสมัย  ก็อาจตามมาด้วยปัญหาได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ มีโรคใหม่ๆที่เกิดจากการใช้ Social Media เกิดขึ้นนั่นคือ “การเสพติดโซเชี่ยลมีเดีย”  (Social Media Addiction) คือ การใช้เวลาและความสนใจมากเกินไปกับการใช้ Social Media จนทำให้การทำงาน การเรียน การดำเนินชีวิตแบบปกติ การปฏิสัมพันธ์กับคนจริงๆ น้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัดจนเกิดผลเสียกับตนเอง
อาการที่บ่งบอกว่าคุณติด Social Media ซะแล้ว

  • ต้องมีโทรศัพท์ หรือ ipad ติดตัวตลอดเวลา แม้เวลาทานข้าว เข้าห้องน้ำ เวลานอน หรือทำอะไรก็ตาม และเล่นตลอดเวลาจนไม่สนใจสิ่งของหรือคนที่อยู่ข้างๆ
  • เมื่อมีเสียงเตือนจากโทรศัพท์ดังขึ้น คุณจะหันไปสนใจโทรศัพท์ทันที แม้ในเวลาภาระกิจสำคัญกว่า ก็ให้ความสำคัญกับการตอบโต้ในโทรศัพท์ก่อน
  • บางครั้งรู้สึกคิดไปเองว่าได้ยินเสียงเรียกเข้า หรือมีเสียงเตือนจากโทรศัพท์ ทั้งที่ไม่เสียงใดๆในตอนนั้น เพราะจิตใจของคุณกำลังหมกมุ่นกับมันมากเกินไป
  • จริงจังกับการคอมเม้นท์หรือ การไม่ถูกกด like, การไม่ถูกทักทายใน Social Media , การถูกบล็อคการเป็นเพื่อน จนเกิดความเครียด ซึมเศร้า โกรธแค้น หรือทำร้ายกันก็มี
  • หน้าที่ที่ควรทำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น ไม่สนใจเรียน ไม่ทำการบ้าน ทำงานไม่เสร็จตามกำหนดเวลา ไม่ทานอาหาร –ไม่เข้านอนตรงเวลา อารมณ์หงุดหงิดง่ายขึ้น ทะเลาะเบาะแว้งกับคนรอบข้าง เป็นต้น

เราจะใช้ Social Media อย่างไรให้เกิดประโยชน์

  • ตั้งสติก่อนว่าคุณกำลังติด Social Media หรือไม่ ถ้าใช่ ก็ยอมรับกับตนเองว่ากำลังเกิดปัญหา และ แก้ไขที่ตนเองก่อนแก้ไขที่คนอื่น ควบคุมตนเองโดยกำหนดเวลาในการใช้โทรศัพท์ หรือ tablet ว่าจะเล่นวันละกี่นาที ซื่อสัตย์กับตนเอง ไม่เกินเวลา ตั้งเวลาในการเล่นไว้ก็จะดีมากค่ะ
  • ในกรณีที่ลูกหลานของคุณติด Social Media ในฐานะที่คุณเป็นผู้ปกครอง ก็ต้องทำตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็นด้วย เมื่อคุณสอนให้เด็กเล่นมือถือน้อยลง คุณก็ต้องเล่นน้อยลงด้วย และหาเวลาทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวให้มากๆ เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน เล่นดนตรี ทำงานศิลปะ เป็นต้น
  • เลือกใช้ระบบ Social Media  ที่คุณใช้บ่อยๆเท่านั้น หรือปิดระบบเตือนใน Social Media ของคุณ อาจจะเลือกเฉพาะเพื่อนที่คุณติดต่อเป็นประจำ หรือ ซ่อนการโพสต์ที่ไม่มีประโยชน์สำหรับคุณ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสพติดมากเกินไป และทำให้เกิดความเครียด หรือ ถ้าคุณต้องการเลิกอย่างเด็ดขาดก็แนะนำให้หยุดเล่นแบบหักดิบไปเลยสักพัก หันไปใช้มือถือแบบรุ่นเดิมๆ
  • ทำกิจกรรมอย่างอื่นทดแทน เช่น อ่านหนังสือ, ออกกำลังกาย, ออกไปเที่ยวข้างนอก หรือ หันมาสนใจคนในครอบครัวมากขึ้น เป็นต้น

Social Media เป็นเหมือนดาบสองคม ขึ้นกับผู้ใช้ว่าจะใช้ให้เกิดประโยชน์หรือเป็นโทษต่อตนเอง ถ้ารู้สึกว่าตนเองติดมากเกินไปแล้วก็หาทางรักษา และหันมามองคนที่อยู่ข้างๆคุณว่า เขารอคอยคุณที่จะมาพูดคุยกับคุณมานานแค่ไหนแล้ว ด้วยความห่วงใยค่ะ

ติดวัดเมืองใหม่ ริม ถ.พระยาสัจจา อ.เมือง จ.ชลบุรี

Tel 087-992-6993